ประวัติศาสตร์โมรอคโคแบบเจาะลึก
ข้อมูลประวัติศาสตร์โมรอคโค, ข้อมูลโมร๊อกโก , เจาะลึกโมรอคโค , โมร็อกโก , โมร็อคโก
History of Morocco
With U. Travel Vacations ! You will never be able to forget your 1st trip to Morocco.
โมร็อกโคปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
วันชาติโมรอคโคตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม
|
|
|
ประวัติศาสตร์ โมรอคโค (โมร็อกโก)
โมร็อกโก โมรอคโค โมร็อคโค โมร็อกโค
ราชอาณาจักรโมรอคโคเป็นหนึ่งในสามประเทศ จากทั้งหมด 53 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ (อีกสองประเทศ คือ ราชอาณาจักรเลโซโท และสวาซิแลนด์) มีความแตกต่างจากประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ที่บ้านเมืองมีความทันสมัยกว่า เนื่องจากครั้งหนึ่งประเทศทางยุโรปอย่างฝรั่งเศสและสเปน ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองประเทศ และได้วางรากฐานการศึกษา สาธารณสุข และการคมนาคม อีกทั้งประชากรมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์จากประชากรส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา ที่เป็นชนชาตินิกรอยหรือแอฟริกันนิโกร อันเนื่องมาจากการไหลบ่าของชาวฝรั่งเศส และชาวสเปนที่เข้ามาตั้งรากฐานในโมร็อคโค จึงทำให้ประชากรของโมร็อคโคเป็นชนชาติคอเคซอยด์ ได้แก่ ชาวอาหรับ ชาวเบอร์เบอร์ และชาวยุโรปอย่าง ฝรั่งเศสและสเปน เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ราชอาณาจักรโมร็อคโคมีความเป็นยุโรปที่ดูทันสมัย และเจริญกว่าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเดียวกัน ในบทความนี้จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโมร็อคโค สำหรับเป็นข้อมูลเพื่อบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประเทศโมร็อคโคในภายหน้า ราชอาณาจักรโมร็อคโค ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรแอตแลนติก มีช่องแคบยิบรอลตาร์แบ่งกั้นสเปน และโมร็อคโค กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของโมร็อคโคยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยไปถึงอารยธรรม โบราณอย่างย่อๆ บริเวณที่เป็นประเทศโมร็อคโค ในปัจจุบันนี้แต่ก่อนมีชาวฟีนิเชียนเข้าไปทำการค้า และตั้งที่ทำการค้าบริเวณชายฝั่งเมื่อราว 1,100 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาชาวคาร์เธจก็เข้ามาตั้งอาณาจักร และสร้างอารยธรรมรุ่งเรืองอยู่บริเวณชายฝั่ง แต่ภายหลังก็ต้องเสื่อมอำนาจไปเนื่องจากชาวโรมันได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ และเรืองอำนาจแทน โดยมีชนพื้นเมืองคือชาวเบอร์เบอร์คอยอยู่คู่ประวัติศาสตร์ของโมร็อคโคตลอดมา แต่ประวัติศาสตร์ในช่วงหลังจากนี้ต่างหาก ที่เป็นช่วงสำคัญที่มีอิทธิพลต่อราชอาณาจักรโมร็อคโคในปัจจุบัน ชาวเบอร์เบอร์ในโมร็อกโก (Moroccan Berbers)
ภูมิศาสตร์ที่ดึงดูดความสนใจจากประเทศทางยุโรปอย่างสเปน ฝรั่งเศส อิตาลี หรือตุรกี คือบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ชายฝั่งบาร์บารี (Barbary Coastline) ทำให้ตลอดช่วงศตวรรษที่ 16 ประเทศมหาอำนาจทางชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนใหญ่ๆอย่างสเปน และตุรกีต้องการเข้ายึดครองชายฝั่งบาร์บารี ท้ายที่สุดตุรกีเป็นฝ่ายมีชัย ตุรกีอนุญาตให้โจรสลัด หรือ corsair เข้าตั้งฐานกำลังตามบริเวณชายฝั่งบาร์บารี แล้วดินแดนแถบนั้นที่โจรสลัดเข้ายึดครองก็จะกลายเป็นดินแดนในอารักขาภายใต้ราชอาณาจักรตุรกี หรือ ราชอาณาจักรออตโตมัน (Ottoman Empire) ในศตวรรษที่19 หลังจากสามศตวรรษที่โจรสลัดเข้ายึดครองดินแดนชายฝั่งบาร์บารี ฝรั่งเศสที่สนใจดินแดนชายฝั่งบาร์บารีอยู่เหมือนกันก็ประกาศว่าจะเข้าไปทำ การยุติการการะกระทำของโจรสลัดเติร์กที่สร้างความไม่พอใจแก่คนเดินเรืออยู่ มากในเวลานั้น โดยฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรียนในปีค.ศ.1830 จะเห็นได้ว่าประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆในยุโรปได้ให้ความสำคัญกับดินแดนแถบนี้มาเป็นเวลานานมากแล้ว ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เมืองเตโตอวน (Tetouan - ภาพซ้ายมือ) และแทนเจียร์
สำหรับโมร็อคโค ในศตวรรษที่ 17 ช่วงค.ศ. 1603 โมร็อคโคมีปัญหาทาง การเมืองภายในขึ้นมาเป็นเวลานาน อันมีเหตุจากการการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านอาห์เหม็ดเอลมันซูร์ ทำให้กลุ่มอำนาจต่างๆเกิดความแตกแยก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ราชวงศ์ต่างๆของพวกเบอร์เบอร์ที่เป็นชนท้องถิ่นเสื่อม อำนาจลง สมัยศตวรรษที่ 18 สเปน และฝรั่งเศสต่างให้ความสนใจบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนเหนือของ ทวีปแอฟริกา เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความต้องการแข่งขันกันเป็นประเทศเจ้าอาณานิคม และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่ชาวยุโรปเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อโมร็อคโคหลังจาก ที่โมร็อคโคอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาวอาหรับมาอย่างยาวนาน ฝรั่งเศส และสเปนต่างต้องการครอบครอบโมร็อคโค ในที่สุดฝรั่งเศส และสเปนก็สามารถยุติความขัดแย้งเรื่องสิทธิเหนือดินแดนโมร็อคโคได้ในค.ศ. 1912 ทั้งสองประเทศทำสนธิสัญญาเฟส (Treaty of Fes) โดยตกลงให้ฝรั่งเศสเข้าปกครองราชอาณาจักรโมร็อคโคเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสเปนสามารถเข้ายึดครองดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยให้ เมืองเตตูอาน (Tetouan) เป็นเมืองหลวงของเขตการปกครองสเปนในโมร็อคโค ยกเว้นเมืองแทนเจียร์อันเป็นเมืองท่าสำคัญ ประกาศให้เป็นดินแดนสากลไม่ขึ้นกับใคร ฝรั่งเศสเข้าปกครองโมร็อคโค และได้ยกให้เมืองราบัต (Rabat) เป็นเมืองหลวง และได้พัฒนาเมืองคาสซาบลังกา (Casablanca) ให้เป็นเมืองท่าที่ทันสมัยทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนั้นยังสร้างเมืองใหม่ (Ville Nouvelle) ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า นอกจากนี้ยังแต่งตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการหรือปาชา (Pasha) ดูแลเมืองมาร์ราเกช และยังคงให้สุลต่านดูแลโมร็อคโคอยู่เช่นเดิม กระนั่นเองชาวโมร็อคโคไม่ต้องการให้ชาวสเปนและฝรั่งเศสเข้ามาหาประโยชน์ จากผืนแผ่นดินของตน จึงเกิดการต่อต้านขึ้นจากชาวโมร็อกโกรวมไปถึงชาวเบอร์เบอร์ท้องถิ่นด้วย วีรบุรุษในการประท้วงต่อต้านครั้งนายคือ นาย Abd el Krim โดยที่เขาสามารถเอาชนะกองทัพทหารสเปนจำนวน 20,000 คน ในค.ศ. 1921 ซึ่งเขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของชนเผ่าเบอร์เบอร์ในแคว้นริฟ (Rif) จนกระทั่งต้องพ่ายแพ้ต่อกองกำลังทหารผสมของสเปนและฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1926 เป็นห้าปีแห่งการประท้วงต่อต้านที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนหนุ่มสาวรุ่น ใหม่ที่มีการศึกษาของโมร็อคโคที่ภายหลังออกมาเรียกร้องเสรีภาพและเอกราชของโมร็อคโคจากฝรั่งเศสและสเปน สงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น (ค.ศ. 1939-1945) นับเป็นจังหวะที่ดีในการเรียกร้องเสรีภาพของโมร็อคโค ค.ศ.1943 เกิดการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มชาตินิยมชื่อว่า Istiqualal แปลตรงตัวว่า เอกราช บทบาทสำคัญคือการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส จากจำนวนสมาชิกเพียงหนึ่งหมื่นคนในค.ศ. 1947 เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งแสนคนในค.ศ. 1951 การเคลื่อนไหวพรรคการเมืองในครั้งนี้มีสุลต่าน Mohammed V คอยสนับสนุนจนกระทั่งพระองค์ถูกกักบริเวณอยู่ระยะหนึ่งและภายหลังถูกเนรเทศไปยังเกาะ มาดากัสการ์เป็นเวลา 2 ปี กระทั่งในที่สุดปี 1956 ฝรั่งเศสและสเปนก็ยอมถอนตัวออกจากโมร็อคโค ยกเว้นในเมืองเซปตาและเมืองเมลิยาที่ยังคงเป็นของสเปน โดยให้สุลต่าน Mohammed V ที่ถูกเนรเทศไปเกาะมาดากัสการ์กับมายังโมร็อคโค ทรงขึ้นครองราชยสถาปนาพระองคเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลาวิตองค์ที่สิบสาม โดยเป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนจากสุลต่านเป็นพระราชาธิบดีแทน พระองค์ได้พัฒนาโมร็อคโคในด้านต่างๆ ทรงเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1961 จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันที่สองทรงครองราชย์จนถึงค.ศ. 1999 เมื่อเสด็จสวรรคต พระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันที่สอง ซิดี้ โมฮัมเหม็ด บินฮัสซัน (Sidi Mohammed Ben Hassan) เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ทรงมีพระนามว่าพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่หก มีพระชายาคือเจ้าหญิงลาลาซัลมา (Princess Lalla Salma) ผู้เคยเสด็จพระราชดําเนินมาประเทศไทยเพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ราชอาณาจักรโมร็อคโค หรือ โมร็อกโก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งโมร็อคโคมีปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาโบนิโต อยู่ชุกชุม แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถตักตวงผลผลิตทางทะเลที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากโมร็อคโคขาดเทคโนโลยีประมงที่ทันสมัย แต่โมร็อคโคก็ยังคงเป็นตลาดค้าปลาที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ในปี 2006 โมร็อคโคยังทำสัญญาทางการค้ากับ EU โดยที่โมร็อคโคอนุญาตให้เรือประมงสัญชาติยุโรปซึ่งโดยส่วนมากแล้วเป็นเรือ ประมงสัญชาติสเปน สามารถเข้ามาหาปลาในน่านน้ำโมร็อคโคได้ โดยที่ทางโมร็อคโคจะได้รับเงินชดเชยจาก EU 144 ล้านยูโร โมร็อคโคได้แบ่งเงินจำนวน 36 ล้านยูโรออกจากเงินชดเชยจำนวนนี้ออกมาสำหรับพัฒนาด้านการประมงโดยเฉพาะ การทำสัญญาทางการค้าระหว่างโมร็อคโคและ EU ในเรื่องการประมงแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วระหว่างปี1995 โดยที่ครั้งนั้นก็เป็นลักษณะสัมปทานสี่ปีเช่นเดียวกัน การเดินขบวนสีเขียวในประเทศโมร็อก Morocco Green March การที่สเปนครอบครองดินแดนซาฮาร่า ตะวันตก Western Sahara หรือที่ชาวโมรอคโคเรียกว่า ซาฮาร่า โมรอคโค นั้น ได้ถูกชาวโมรอคโคต่อต้านจนเกิดเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ในวันนั้น รัฐบาลและประชาชนชาวโมรอคโคได้ร่วมกัน เดินขบวนประท้วงโดยปราศจากอาวุธ หรือที่เรียกกันว่า การเดินขบวนสีเขียว Green March นำโดยกษัตริย์ฮัสซันที่ 2 และมีประชาชาวเข้าร่วมเดินขบวนด้วยถึง 350,000 คน ในจำนวนนี้ มีผู้หญิงเข้าร่วมไม่น้อยก่วา 3,500 คน การเดินขบวนครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ว่าแห่งเขตซาฮาร่าตะวันตก ที่ครอบครองโดยสเปน ได้ริเริ่มมีการออกเอกสารให้สัญชาติ และ บัตรประจำตัวให้แก่คนในดินแดนซาฮาร่าตะวันตก แห่งนี้ ทำให้ประชาชนชาวโมรอคโคและรัฐบาลโมรอคโคไม่พอใจ และเห็นว่าเป็นประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศโมรอคโคในภายภาคหน้า รวมถึงส่งผลกระทบไปถึงชนเผ่าต่าง ๆ ในซาฮาร่าตะวันตกแห่งนี้ การเดินขบวนสีเขียว Green March เป็นการรวมตัวกันเดินเท้าเข้าสู่เขตทะเลทรายซาฮาร่าตะวันตก โดยมีขบวนแพทย์ และ พยาบาล รถสเบียง ส่งน้ำและอาหารติดตามไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลสเปนเห็นว่า เหตุการณ์อาจบานปลายจนเกิดวิกฤตทางการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้ง ไม่ต้องการปะทะกับฝูงชนที่เดินเท้ามาโดยไม่ติดอาวุธ ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1975 ผู้ว่าการดินแดนซาฮาร่าตะวันตกของสเปน จึงประกาศยินยอมเจรจากับรัฐบาลโมรอคโค
วันที่ 9 พฤศจิกายน 1975 กษัตริย์ฮัสซันที่ 2 ได้กล่าวปราศัยกับฝูงชนที่เดินขบวน ให้ทุกคนกลับภูมิลำเนา และต่อมา ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 1975 ประเทศสเปน ซึ่งอยู่ในช่วงสุดท้ายของรัฐบาลนายพลฟรังโก้ ก่อนที่จะเสียชีวิตลง ได้ทำสัญญากับโมรอคโคและมอริเตเนียซึ่งมีดินแดนติดต่อกับซาฮาร่าตะวันตก ทางตอนใต้ ในสนธิสัญญา 3 ฝ่ายที่ได้ลงนามกันระหว่างสเปน โมรอคโค และมอริเตเนียครั้งนั้น ทำให้สเปนยุติการครอบครองดินแดนซาฮาร่าตะวันตก และทำให้สเปนถอนกองกำลังออกจากดินแดนดังกล่าว โดยที่ทางสเปนได้ขุดหลุมฝังศพบรรพบุรุษที่อยู่ในสุสานของดินแดนดังกล่าวกลับสู่ประเทศทั้งหมด อ้างอิง อมาตยกุล, สุภาศิริ. โมร็อคโค: ดินแดนแห่งศิลปะและวัฒนธรรมอันหลากหลาย. หนังสือวิทยุสราญรมย์, 34. กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. Iliffe, John; Africans: the history of a continent, 1995 ?History of Morocco?, History World. From 2001 ongoing. http://www.historyworld.net/wrldhis/PlainTextHistories.asp?historyid=ac97
?Morocco ? History?, Morocco. http://www.nationsencyclopedia.com/Africa/Morocco-ECONOMY.html ภาพจาก
http://www.photos4travel.com/travel-guides/morocco/map http://blog.travel-exploration.com/category/morocco-travel-traditional-moroccan-wedding-photographs http://www.rediscover.co.uk/tangier.htm http://www.bestourism.com/medias/dfp/2569 http://sameaf.mfa.go.th/th/important_place/detail.php?ID=2951
|
โมรอคโค มีเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม 9 แห่ง
Morocco World Heritage List (9) Cultural
- Archaeological Site of Volubilis (1997)
- Historic City of Meknes (1996)
- Ksar of Ait-Ben-Haddou (1987)
- Medina of Essaouira (formerly Mogador) (2001)
- Medina of Fez (1981)
- Medina of Marrakesh (1985)
- Medina of Tétouan (formerly known as Titawin) (1997)
- Portuguese City of Mazagan (El Jadida) (2004)
- Rabat, Modern Capital and Historic City: a Shared Heritage (2012)
สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังโมร็อกโกที่สำคัญ
ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าเครื่องซักแห้ง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เม็ดพลาสติก แก้วและกระจก ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไดโอดทรานซิสเตอร์อุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ปริมาณการค้าระหว่างไทย - โมร็อกโกยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีกมาก โดยในปี 2552 มีมูลค่าการค้ารวม 196.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กโก 2,039.40 ล้านบาท และส่งออกไปโมร็อกโก 5,282.17 ล้านบาท โดยไทยได้ดุลการค้า 3,252.77 ล้านบาท
สังคม
โมร็อกโกได้ดำเนินการปฏิรูปกฎหมายครอบครัวของโมร็อกโกตามพระราโชบายของสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ในโอกาสทรงเปิดการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศให้มีการปฏิรูปกฎหมายครอบครัว (Family Law หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า Mudawanna)ทรงมีพระราชประสงค์ให้แก้ไขกฎหมายครอบครัวเดิมที่ล้าหลังให้ทันสมัยเพื่อให้สตรีมีสถานะและสิทธิเท่าเทียมบุรุษดังเช่นกฎหมายครอบครัวของประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ สื่อมวลชนนานาชาติยกย่องและขนานนามนโยบายนี้ว่า การปฏิรูปด้านสังคมเพื่อเป็นการให้สิทธิแก่สตรีของโมร็อกโก ซึ่งถือว่าโมร็อกโกเป็นประเทศมุสลิมประเทศแรกที่ดำเนินการเรื่องสิทธิสตรี
ความสัมพันธ์ทั่วไป ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับโมร็อกโกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ไทยกับโมร็อกโกมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทั้งในระดัยราชวงศ์และรัฐบาลตลอดมา โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2537 ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงราบัตเอกอัครราชทูตไทยประจำโมร็อกโกคนปัจจุบัน คือ นางกุณฑลี ประจิมทิศ สำหรับโมร็อกโกได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 เอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำไทยคนปัจจุบัน คือ นาย Abderrazag Nabil
การเดินทางเข้าโมร็อกโก
บุคคลสัญชาติไทยที่จะเดินทางเข้าโมร็อกโก ต้องได้รับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโก
วีซ่าโมรอคโค
นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศโมรอคโค ต้องขอวีซ๋า ที่สถานเอกอัครราชทูตโมรอคโค ประจำประเทศไทย
Sathorn City Tower, 12th floor , 175 South Sathorn Rd , Sathorn, Bangkok, 10120
tel: (66) 2 679 5604/05/06 , fax: (66) 2 679 5603 , email: ambmaroc@truemail.co.th
http://www.moroccoembassybangkok.org/visa.html
ในปี 2550 รัฐบาลโมร็อกโกได้มีการเจรจาร่วมกับรัฐบาลของนาย Nicolas Sarkozy ประธานาธิบดีประเทศฝรั่งเศสว่าด้วยการร่วมจัดสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเครีย์ซึ่งมีกำหนดจะเปิดทำการในปี 2560ปัจจุบันโมร็อกโกกำลังประสบกับปัญหาภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานอันเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการปรับเปลี่ยนพื้นฐานโครงสร้างที่เน้นการลงทุนในสาธารณูปโภคโดยการสนับสนุนจากสถาบันองค์กรต่างประเทศ
นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2 (Emergence II) ซึ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านความเป็นอยุ่ อันเนื่องจากคะแนนเสียงของรัฐบาลปัจจุบันมาจากประชานิยม โดยเน้นการดึงดูดนักลงทุนและการลดอัตราการว่างงานของคนภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยนโยบายหลักๆ ดังต่อไปนี้
I. การมุ่งสร้างหน่วยการเคหะใหม่ 150,000 ต่อปีจนกระทั้งปี 2558
II. การเพิ่มศักยภาพของภาคเกษตร
III. การเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากพลังงานไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานถ่านหินและน้ำมันที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ โมร็อกโกยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ เป็นรูปธรรม สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ทรงสนพระทัยอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโมร็อกโก และได้ทรงกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Vision 2553 โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวโมร็อกโก10 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันรายได้อันดับหนึ่งของประเทศมาจากภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เศรษฐกิจและสังคม
เศรษฐกิจในช่วงระหว่าง 2546-2550 การลงทุนจากต่างประเทศในโมร็อกโก คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 14.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากในช่วงปี 2541 - 2545 ถึงร้อยละ 65.67 และเป็นประเทศที่มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมด คู่ค้าที่สำคัญของโมร็อกโกได้แก่กลุ่มประเทศยุโรปที่เป็นทั้งตลาดส่งออกและตลาดแรงงานที่สำคัญ โดยภาคที่ดึงดูดนักลงทุนมากที่สุดคือภาคอุตสาห
กรรมสิ่งทอ, ส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค, การบริการชายฝั่ง และการท่องเที่ยว ร่วมถึงการแปรรูปรัฐวิสหกิจ ของภาครัฐซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2536 ในปัจจุบันโมร็อกโกมีเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกาและตุรกี
การตัดความสัมพันธ์ระหว่างโมร็อกโกและอิหร่านครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๒ โดยครั้งแรกเกิดเมื่อมีการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านและพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านเสด็จมาลี้ภัยที่โมร็อกโก รัฐบาลอิหร่านจึงตัดความสัมพันธ์กับโมร็อกโก แต่ภายหลังได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์กันใหม่เมื่อพระเจ้าชาร์เสด็จออกจากโมร็อกโก
ปัญหาข้อพิพาทระหว่างโมร็อกโกกับอิหร่าน
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 โมร็อกโกได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน เนื่องจากความไม่พอใจที่รัฐบาลอิหร่านได้ตอบโต้รัฐบาลโมร็อกโกอย่างไม่ยุติธรรมในกรณีบูรณภาพแห่งดินแดนของบาห์เรนที่อิหร่านอ้างสิทธิเหนือ หลังจากที่กลุ่มประเทศอาหรับหลายประเทศรวมทั้งโมร็อกโกมีท่าทีร่วมกันต่อบูรณภาพแห่งดินแดนของบาห์เรน อีกทั้งโมร็อกโกยังไม่พอใจที่อิหร่านพยายามเข้าไปขยายอิทธิพลทางศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ต่อประชาชนโมร็อกโกซึ่งเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่
ล่าสุดโมร็อกโกกำลังจัดทำข้อเสนอการแก้ไขปัญหาดินแดนซาฮาราตะวันตก โดยจะให้อำนาจอิสระในการปกครองตนเองในดินแดน ยกเว้นอำนาจอธิปไตยโดยยังคงถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของโมร็อกโก มีรัฐบาลท้องถิ่น สภานิติบัญญัติท้องถิ่น และระบบยุติธรรมท้องถิ่นของตนเอง โดยได้ข้อเสนอดังกล่าวขอรับการสนับสนุนในเวทีสหประชาชาติและจากประชาคมระหว่างประเทศต่อไป และได้เริ่มการเจรจากับกลุ่ม Polisario เกี่ยวกับข้อเสนอนี้แต่กลุ่ม Polisario ยังคงยืนยันท่าทีของตนเองเรียกร้อง self determination
ปัญหาข้อพิพาทระหว่างโมร็อกโกกับแอลจีเรีย
โมร็อกโกมีปัญหาขัดแย้งในเรื่องดินแดนซาฮาราตะวันตก (Western Sahara) ซึ่งโมร็อกโกพยายามอ้างสิทธิขณะที่ประเทศแอฟริกันส่วนใหญ่โดยเฉพาะแอลจีเรีย สนับสนุนกลุ่มแนวร่วม Polisario ซึ่งอ้างตัวเป็นผู้แทนของประชาชนในดินแดนซาฮาราตะวันตก และประสงค์จะแยกตัวเป็นอิสระ อนึ่ง องค์การสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) ให้การรับรองผู้แทนของดินแดนซาฮาราตะวันตกให้เป็นสมาชิกของ AU เมื่อปี 2527 จึงเป็นสาเหตุให้โมร็อกโกไม่พอใจ และถอนสมาชิกภาพจาก AU ทำให้โมร็อกโกเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ไม่ได้เป็นสมาชิก AU
โมร็อกโกยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป
โดยรัฐบาลโมร็อกโกมีนโยบายในการรักษาสถานภาพแนวหน้าในเวทีความร่วมมือกับสมาชิกสหภาพยุโรป และเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2551 สหภาพยุโรปได้มอบสถานะพิเศษ (advanced status) ให้กับโมร็อกโก ซึ่งนับเป็นประเทศแรกในประเทศบริเวณเขตเมดิเตอเรเนียนตอนใต้ที่ได้รับสิทธิพิเศษนี้จากสหภาพยุโรป
นโยบายต่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศโดยรวม โมร็อกโกเป็นประเทศอาหรับสายกลางที่มีบทบาทมากทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก มีความใกล้ชิดกับยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส สเปนและสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสนับสนุนการแสวงหาสันติภาพในอาหรับ เนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ทรงเป็นพระประมุขที่เป็นคนรุ่นใหม่ ทรงมีการศึกษาดีทันสมัย ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และทรงตระหนักว่า หากภูมิภาคอาหรับยังไม่สามารถมีความเป็นปึกแผ่น ย่อมจะไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมประเทศในภูมิภาคอื่นหรือโลกตะวันตกได้
รัฐบาลยังคงสนับสนุนการคว่ำบาตรทางรัฐ
โดยเฉพาะในการป้องกันกลุ่มอิสลามที่ต่อต้านรัฐบาลซึ่งส่วนหนึ่งสนับสนุนการใช้ความรุนแรง และความรุนแรงของการก่อความไม่สงบโดยกลุ่มทหารอิสลามที่มุ่งโจมตีรัฐบาลและชาวตะวันตกยังมีอยู่อย่างเรื่อยๆ แต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวมแต่อย่างไรโมร็อกโกได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 4 และเปิดให้ประชาชนลงประชามติรับหลักการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2539 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มี 2 สภา กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยการเลือกตั้งโดยตรง มีสมาชิก 325 คนและสภาที่ปรึกษา (Chamber of Counsellors) มีสมาชิก 270 คน ซึ่งเลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยได้มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Abbas El-Fassi ซึ่งดำรงตำแหน่ง State Minister ในรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ ระบบการปกครองของโมร็อกโกในปัจจุบันเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 15 ภูมิภาคพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ตลอดจนรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งมีพระราชอำนาจออกพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติ
การเมืองการปกครอง
โมร็อกโกมีระบอบการปกครองโดยราชวงศ์ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งในปี 2455 กษัตริย์มาวเลย์ แอบดุลฮาฟิด (Mawlay Abdelhafid) ถูกผูกมัดให้ลงนามในสนธิสัญญาเฟส (The Treaty of Fez) ซึ่งกำหนดให้ประเทศฝรั่งเศสและสเปนมีอำนาจการปกครองแบบเบ็ดเสร็จในโมร็อกโก โมร็อกโกจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในดินแดนอารักขาของประเทศฝรั่งเศสและสเปน (the Protectorate) อย่างไรก็ตาม ในปี 2499 โมร็อกโกได้รับเอกราช กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 5 จึงได้สถาปนาราชวงศ์อะลาวี (Alawi) ขึ้นอีกครั้ง พระมหากษัตริย์โมร็อกโกองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ซึ่งได้สืบราชสมบัติต่อจากกษัตริย์ฮัสซันที่ 2 ในปี 2542 เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนม์มายุ 36 พรรษา
ชื่อทางการ ราชอาณาจักรโมร็อกโค (Kingdom of Morocco) เมืองหลวง กรุงราบาต
ที่ตั้งและอาณาเขต ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือ ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศใต้ ติดมอริเตเนีย
ทิศตะวันออก ติดแอลจีเรีย
ประชากร 27.77 ล้านคน ศาสนา ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือนับถือคริสต์นิกายคาทอลิค ศาสนายิว ภาษา อารบิกเป็นภาษาราชการ ภาษาต่างประเทศที่ใช้กันทั่วไป คือ ฝรั่งเศส
สกุลเงิน ดีร์ฮาม (Dirham)
1 ดีร์ฮาม ประมาณ 4 บาท (2556)
1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 10 ดีร์ฮาม (2556)
GDP 171 พันล้าน USD (2555)
GDP per Capita 5,300 US (2555)
Real GDP Growth ร้อยละ 2.9 (2555)
การปกครอง
ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เวลา ช้ากว่าประเทศไทย 7 ชั่วโมง
สภาพอากาศ
ประเทศโมร๊อกโคนั้นมีสภาพอากาศค่อนข้างหลากหลายอากาศ ภาคเหนือ บริเวณที่ติดกับทะเล อากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอากาศจะค่อนข้างอบอุ่น แต่ในตัวเมืองอากาศจะแห้งเล็กน้อย ภาคเหนือส่วนที่ต่ำลงมา ภาคกลางและภาคตะวันตก อากาศอบอุ่น บริเวณลึกเข้าในแผ่นดิน อากาศร้อนและแห้งแล้ง และจะหนาวมากในตอนกลางคืน โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม และเดือนมกราคม แถบชาบฝั่งเมื่อลงไปทางใต้อากาศจะร้อน และแห้งเกือบตลอดปี
วันและเวลาการทำงาน
วันจันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 12.00 น. และ 14.30 - 18.30 น. ในช่วงเทศกาลถือศีลอดจะเลิกงานในช่วงบ่าย (ประมาณ 15.00 น.)
และไม่หยุดพักกลางวัน
ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์
บริษัททัวร์ต่างประเทศชั้นนำ บริการทำแลนด์แก่บริษัททัวร์ทั่วประเทศ รับจัดทัวร์โมรอคโค จัดนำเที่ยวโมรอคโค จัดทำแพคเกจทัวร์โมรอคโคจัดคณะทัวร์โมรอคโค บริการข้อมูลท่องเที่ยวโมรอคโคแบบเจาะลึก บริการตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศโมรอคโค จองโรงแรมที่พักโมรอคโค จัดประชุมสัมนาที่ประเทศโมรอคโค งานแสดงสินค้าที่ประเทศโมรอคโค รถทัวร์โมรอคโคสุดหรู วีซ่าโมรอคโค ศึกษาต่อโมรอคโค รับจัดทัวร์โมรอคโคกรุ๊ปพิเศษสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศโมรอคโคด้วยตนเองกับรายการทัวร์โมรอคโคเจาะลึก
ติดต่อ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ แลนด์โมรอคโคในประเทศไทย โทร. 02-4282114 Email: u.travel@hotmail.com
ดูโปรแกรมทัวร์โมรอคโค ท้ั้งหมด คลิก |
* ทัวร์โมรอคโค * เที่ยวโมรอคโค * ข้อมูลโมรอคโค * ประวัติโมรอคโค * ประเทศโมรอคโค * |